วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

ตัวอย่างการให้คำปรึกษา **2




รูปแบบการให้คำปรึกษา
 สามารถจำแนกได้ แนวทาง คือ
1. การให้คำปรึกษาแบบนำทาง
              การให้คำปรึกษารูปแบบนี้จะยึดให้ผู้ศึกษาเป็นศูนย์กลาง โดยมีแนวทางเชื่อว่า การที่คนเราสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ หรือแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นรู้จักตนเองรู้ในขอบเขตความสามารถ
2. การให้คำปรึกษาไม่นำทาง
              การให้คำปรึกษาแบบนี้ยึดผู้มาขอรับการศึกษาเป็นศูนย์กลาง  บุคคลมีความสามารถในกาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หากเขาได้ระบายความคับข้องใจ ความทุกข์ใจ ความตึงเครียดทางอารมณ์ต่างๆ ออกไป และมีความรู้จักและสามารถเข้าใจตนเอง
3. การให้คำปรึกษาแบบผสม
               ผู้ให้คำปรึกษามีอิสระที่จะใช้วิธีการหรือหลักการอะไรก็ได้ที่เห็ฯว่ามีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้มาขอรับการศึกษาในแต่ละขณะ

/
กระบวนการให้คำปรึกษา
 1. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Objective)
     การให้คำปรึกษาจำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา เพื่อให้ทราบว่าเราให้คำ
ปรึกษาเพื่ออะไร  ต้องการให้ผู้ขอคำปรึกษาบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอะไร เช่น เพื่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่ไม่ดีให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม หรือช่วยให้
ผู้ขอคำปรึกษาสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำแนวทางของการตัดสินใจไปปฏิบัติได้
อย่างเหมาะสม อาทิ การพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ การปรับปรุงงานการเข้าใจตนเองและผู้อื่น ๆ เป็นต้น
 2. การรวบรวมข้อมูล (Data Collecting)
     ในขั้นตอนที่สองหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษาแล้ว  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องรวบ
รวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอคำปรึกษาเพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น  ทราบพื้นฐานของครอบครัว  ความรู้
ความสามารถ  ประวัติการทำงาน  ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการทางจิตวิทยา  เช่น  การสังเกต
การศึกษา  ประวัติ การทดสอบ หรือไม่ทดสอบ  การสัมภาษณ์  เป็นต้น

 3. การวิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุ (Cause Analysis)
     ภายหลังจากรวบรวมข้อมูลแล้ว  ผู้ให้คำปรึกษาจะนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยปัญหา
การค้นหาสาเหตุของปัญหา  การคาดคะเนพฤติกรรมเพื่อให้ทราบที่มาของปัญหาของผู้ขอคำปรึกษา
เช่น  ผู้ขอคำปรึกษามีความกังวลใจ  ความขัดแย้งในใจ  ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติงานใดก่อนหลัง  ทำให้
ไม่สามารถทำงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย จากการวิเคราะห์ปัญหา โดยข้อมูลของผู้ขอคำปรึกษา
ทำให้ทราบว่า  ผู้ขอคำปรึกษาขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ  ทำให้เกิดความลังเลใจ ตัดสินใจ
ไม่ถูก เป็นต้น
 4. การให้คำปรึกษา (Counseling)
     ขั้นตอนนี้เป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้ขอคำปรึกษา เพื่อร่วมมือกันค้นหาวิธีแก้ปัญหา
หรือเลือกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม โดยผู้ให้คำปรึกษาจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ขอคำปรึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ผู้ให้คำปรึกษาต้องให้เกียรติผู้ขอคำปรึกษา แสดงความเป็นมิตร เพื่อให้ผู้
ขอคำปรึกษามีความรู้สึกอบอุ่นใจ ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความลับได้  เมื่อเกิดความคุ้นเคยและไว้วาง
ใจกันแล้ว การให้คำปรึกษาก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของผู้ขอคำปรึกษา ซึ่งผู้ให้คำปรึกษา
จะเลือกใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบใดมาใช้ เช่น การให้คำปรึกษาแบบนำทาง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีปัญหา
เกี่ยวกับการตัดสินใจ ไม่เข้าใจตนเอง  สำหรับการให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง เหมาะกับผู้ขอคำปรึกษา
ที่มีปัญหาทางอารมณ์  หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันซึ่งเรียกว่า  การให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม  เป็นต้น แต่ถ้ากรณีของปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ขอคำปรึกษาต้องการให้ช่วยเหลือเกินขอบข่ายความสามารถของผู้ให้
คำปรึกษา  ก็อธิบายให้ผู้ขอคำปรึกษาทราบและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป  เช่น  นัก
กฎหมาย  แพทย์  หรือจิตแพทย์  ดังนั้น การให้คำปรึกษาจึงเป็นการรับฟังอย่างเห็นใจ เข้าใจ วินิจฉัย
ปัญหาให้ฟัง เสนอแนะพร้อมชี้แจงเหตุผล ตัดสินใจเช่นนั้น  เกิดผลอย่างไร ส่วนการตัดสินใจเป็นของ
ผู้ขอคำปรึกษาที่ต้องตัดสินใจเอง
 5. การประเมินผล (Evaluation)
     เมื่อการให้คำปรึกษาสิ้นสุดลง ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบผลของการให้คำปรึกษารวมทั้ง
การให้ความช่วยเหลือว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงใด ถ้าหากมีข้อบกพร่องนี้จะนำ
ไปปรัปปรุงแก้ไขวิธีการให้คำปรึกษาให้ดีขึ้นไปอีก  แต่ถ้าการให้คำปรึกษาบรรลุผลตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ก็สามารถนำเป็นแบบอย่างไปใช้กับผู้ขอคำปรึกษาที่มีปัญหา  หรือกรณีใกล้เคียงกันได้  การ
ประเมินผลอาจประเมินผลการให้คำปรึกษาหรือผู้ให้คำปรึกษาก็ได้ หรืออาจจะประเมินผลทั้งสองกรณี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินผล

ประเภทของการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภทดังนี้

     1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)

  การให้คำปรึกษาประเภทนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ การให้คำ
ปรึกษาจะเป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน  กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน  การให้
คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง  เข้าใจปัญหา และ
สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือเพื่อให้สมาชิกในองค์การ  เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานให้สูงขึ้น  ทำให้คนในองค์การได้ตระหนักถึงความรู้สึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการแสดงออกของ
อารมณ์ของตนและผู้อื่น  เข้าใจความสำคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆ
ของบุคคล เข้าใจความสำคัญของการเสริมแรงและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนสามารถกำหนดเป้า
หมายและการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้

     2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)

     การให้คำปรึกษาประเภทนี้  หรืออาจเรียกว่าการให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ  เป็นกระบวนการที่
บุคคลที่มีความต้องการหรือปัญหาที่คล้ายกันหรือตรงกัน ต้องการปรับปรุงตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือต้องการจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน  มารวมกันเป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน
โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มประมาณ  7 - 9  คน  ต่อผู้ให้คำปรึกษา 1 คน
สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้พิจารณากำหนดปัญหา แสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน
เป็นการได้ระบายความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน เป็นการได้ระบายความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจ
ได้สำรวจตนเอง ได้ฝึกการยอมรับตนเอง กล้าที่จะเผชิญปัญหาและได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหา หรือ
ปรับปรุงตนเองกับทั้งที่ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และได้ตระหนักว่าผู้อื่นก็มีความขัดแย้งหรือ
ความคิดเห็นเช่นเดียวกับตนไม่ใช่เขาคนเดียวที่มีปัญหาและอย่างน้อยยังมีอีกคนหนึ่งคือ ผู้ให้คำปรึกษา
ที่ยอมรับและเข้าใจเขา  ผู้ให้คำปรึกษาจะให้ข้อพิจารณา  ให้คำแนะนำว่าเพื่อให้กลุ่มเข้าใจปัญหาที่เป็น
อยู่ ช่วยกันคิดหรือปรึกษาหารือในทางเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา แต่กลุ่มต้องตัดสินในเลือกทางเลือกใน
การแก้ปัญหาเอง  วิธีการให้คำปรึกษาแบบนี้สมาชิกของกลุ่มจะร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เกิด
ความคิดเห็นต่างกัน และการกระทำต่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานโดยร่วมมือกัน การทำงานก็มีประสิทธิ
ภาพ  และอีกประการหนึ่งการใช้วิธีนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเปิดโอกาสให้
สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนได้เสนอแนะความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจว่าตนเอง
สามารถให้ข้อคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มได้

การให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษา   

การให้คำปรึกษาหมายถึง

          การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายของบุคคลสองคน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเชิงจิตวิทยาเฉพาะส่วนบุคคล โดยบุคคลหนึ่งเป็นผู้ให้บริการ  ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางตลอดจนสามารถนำเทคนิคต่างๆในการให้คำปรึกษาไปใช้ เพื่อใช้ความช่วยเหลือแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัญหา ให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบันได้อย่างฉลาดเหมาะสมและมีทักษะในการแก้ปัญหาอื่นๆในอนาคตได้ด้วยตนเอง  มีทักษะและความสามารถในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นหากนักเรียนมีปัญหาทุกข์ใจหรือตัดสินใจอะไรบางอย่างไม่ได้ แล้วครูจะต้องให้คำปรึกษา  ครูจะต้องตระหนักเสมอว่าบทบาทของครู คือช่วยให้นักเรียนได้เรียนรุ๋เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น เข้าใจสภาพการณ์ และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เรียนรู้ทักษะและวิธีการที่จะทำให้ผ่อนคลายหรือแก้ปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น ตัดสิ้นใจอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งย่อมไม่ได้การไปแก้ปัญหาหรือตัดสินใจให้นักเรียนโดยที่ตัวผู้เรียนเองไม่ได้เกิดการพัฒนาในประเด็นที่กล่าวมานั้นเลย

จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษา

ช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยวเมื่อเกิดปัญหา
ช่วยทำให้บุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง
ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ความคิด ใช้สติปัญญาที่มีทั้งหมดนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
ช่วยให้บุคคลเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ มองเห็นลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
ช่วยให้บุคคลเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
ช่วยให้บุคคลรู้จักความอดทน เสียสละ ยอมรับต่อสภาวการณ์ที่แท้จริง
ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาการ และเจริญงอกงามไปถึงขีดสูงสุด

คุณสมบัติของผู้ให้คำปรึกษา 

     1. ด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge)  เนื่องจากการให้คำปรึกษา  แนะนำ  มีขอบข่ายกว้างขวาง  ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องรู้หลักการและเทคนิคในการให้คำปรึกษา  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของคน ความต้องการของคนพฤติกรรมศาสตร์ แรงจูงใจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ขอคำปรึกษาได้

     2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  Relation)  ตามแนวความคิดของมนุษยสัมพันธ์  เน้นในเรื่องความสำคัญของคน  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร และเห็นว่าการเข้าใจคนจะช่วยให้การบริหารงานสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่ง  ดังนั้น  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ เพราะเป็นงานที่ต้องติดต่อกับคน  เช่น ผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชา  รวมทั้งบุคลากรอื่น ๆ ในหน่วยงาน  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขอคำปรึกษาช่วยให้การให้คำปรึกษาเกิดความร่วมมือในการหาหนทางในการแก้ปัญหาด้วยกัน

     3. ด้านจริยธรรม (Ethics)  ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ของบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการปฏิบัติงานผู้ให้คำปรึกษาแนะนำจำเป็นต้องรักษาความลับของผู้ขอคำปรึกษา และการให้คำปรึกษาก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการไม่นำเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง  ต้องวางตัวเป็นกลางอยู่บนหลักการและเหตุผล โดยมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ การปฏิบัติอย่างยุติธรรมโดยทั่วหน้ากันไม่ว่าผู้ขอคำปรึกษาจะเป็นใคร  มีพฤติกรรมเช่นไร  ซึ่งจะทำให้ผู้ขอคำปรึกษารู้สึกปลอดภัยและเต็มใจเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ๆ แก่ผู้ให้คำปรึกษา

หลักการสำคัญของการให้    คำปรึกษา   1.  ยึดเอาผู้มีปัญหาเป็นหลัก                                       
2.  เน้นที่อารมณ์ความรู้สึกของผู้มีปัญหา                                         
3.  เข้าใจและยอมรับในอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้มีปัญหา
4. ไม่ด่วนสรุป หรือตัดสินผู้มีปัญหา          
5.  เน้นที่ความเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์ 
6.  มีการโต้ตอบเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์
7.  ผู้มีปัญหาเกิดการเรียนรู้ด้วยเหตุของปัญหา และตัดสินใจเลือกทางแก้ไข ด้วยตนเอง

บทบาทหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา 

     1. ทำหน้าที่ให้บริการ (Service) ในการปฏิบัติงานของผู้ให้คำปรึกษา จะให้คำปรึกษาแก่
ผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องกฎระเบียบ  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การจัดหาข้อมูล  การวางแผน
อัตรากำลัง  ปัญหาค่าจ้าง  ข้อร้องทุกข์  ความขัดแย้ง ปัญหาส่วนตัว ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
เป็นต้น

     2. ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องแสดงบทบาทเกี่ยวกับการไกล่
เกลี่ยให้เกิดความสัมพันธ์ของบุคคลหรือกลุ่ม  การให้คำปรึกษาเพื่อลดปัญหา ข้อร้องทุกข์ อุทธรณ์และ
ลดความขัดแย้งในหน่วยงาน  เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ปรองดองกัน ระงับข้อขุ่นข้องหมองใจ ความ
ไม่เข้าใจกัน

     3. ทำหน้าที่ผู้ประสานงาน (Coordinator) ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทำงานเกี่ยวข้องกับคน
จำนวนมาก  ทั้งผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และบุคคลอื่น ๆ  การดำเนินงานในองค์การย่อมต้องการ
ผู้ประสานงานที่จะช่วยให้บุคคลต่าง ๆ  ในองค์การสามารถทำงานร่วมกันได้  ผู้ให้คำปรึกษาจะแสดง
บทบาทเป็นผู้ประสานงาน  ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทุกระดับ  บางครั้งอาจต้อง
ประสานงานกับบุคคลภายนอก  เช่น  จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญสาขา
อื่น ๆ เป็นต้น

     คุณสมบัติและบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาควรจะมี
และควรจะเป็น ขณะเดียวกันผู้ให้คำปรึกษาควรจัดตารางเวลาการให้คำปรึกษาตามความสามารถของ
ตนเพื่อให้การปฏิบัติงานแตกต่างกัน  บางคนอาจให้คำปรึกษาได้วันละ 7 - 8  ราย  แต่บางคนจะทำได้
เพียง 2 - 3 รายต่อวัน  เนื่องจากต้องมีกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย อัตราการให้คำปรึกษาต่อวันจึงขึ้นอยู่กับผู้ให้
คำปรึกษาแต่ละคน  แต่การให้คำปรึกษา ราย ไม่ควรใช้เวลาเกิน 45 - 50  และเป็นการให้คำปรึกษา
ในสถานที่ ไม่ควรนัดหมายหรือให้คำปรึกษานอกสถานที่ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาควรพิจารณาว่าตนเองมี
ความพร้อมในด้านร่างกาย  และจิตใจ  ที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถและมี
ประสิทธิภาพ บางปัญหาอาจไม่ตรงกับความสามารถของผู้ให้คำปรึกษา ก็ต้องส่งต่อผู้ขอคำปรึกษาไป
ยังผู้ช่วยชาญต่อไป โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของตนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้ขอคำปรึกษาจะได้รับด้วย

แนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ 
1.กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism)
ผู้นำกลุ่มความคิดนี้คือ วิลเฮล์ม วุนต์ แนวคิดนี้สนใจศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าวของจิตสำนึกของมนุษย์ โดยมีแนวคิดว่าจิตสำนึกของมนุษย์ประกอบด้วย ธาตุทางจิต 3 ชนิดคือ การรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการ โดยในการศึกษาจิตธาตุทั้ง 3 ชนิด จะใช้วิธีพิจารณาภายใน ซึ่งไม่เป็นวิทยาศาสตร์เพราะข้อมูลที่ได้จากการรายงานความรู้สึกของผู้ถูก ศึกษามีความเป็นอัตนัยสูง
2.กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)
แนว คิดของกลุ่มหน้าที่ทางจิตให้ความสำคัญกับวิธีการทีมนุษย์ใช้ในการปรับตัว เข้ากับสิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ให้ความเห็นว่า จิตเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหา เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ใช้ในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักจิตวิทยาในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับพฤติกรรม
3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
จอห์น บี วัตสัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้นำแนวคิดที่สำคัญที่เสนอให้มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกต และมองเห็นได้ ซึ่งจัดว่าเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้วัตสันได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยใหม่ แนวคิดของพฤติกรรมนิยมเน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้มากระทบอินทรีย์ ทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง นักคิดในกลุ่มนี้จึงมักศึกษาพฤติกรรมต่างๆด้วยวิธีการทดลองและใช้การสังเกตอย่างมีระบบจากการทดลอง โดยสรุปว่าการวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและถ้าเรารู้สาเหตุของพฤติกรรมเราก็จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้
จอห์น บี วัตสัน (1878 – 1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันและผู้ก่อตั้งสำนักพฤติกรรมนิยม (behaviorism)
4. กลุ่มเกสตอลท์ (Gestalt Psychology)
Wertheimer,Maxz ผู้นำกลุ่มเกสตอลท์
กลุ่มเกสตอลท์ เป็นกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาที่ตั้งขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมันเพื่อโต้แย้งกลุ่มทางจิตกลุ่มอื่น โดยมีแนวคิดว่าการศึกษาจิตสำนึกนั้นจะต้องศึกษาจากการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งจะมุ่งความสนใจไปที่หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดระบบการรับรู้ของมนุษย์และจากการศึกษาพบว่ามนุษย์จะรับรู้ส่วนรวมของสิ่งเร้ามากกว่าเอาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งเร้านั้นมารวมกัน นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้แล้ว นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้น กำเนิดของการพัฒนาจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ
5.กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ผู้นำแนวคิดของกลุ่มนี้ได้แก่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ โดยเชื่อว่าพฤติกรรม ทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจากพลังที่อยู่ในจิตไร้สำนึก จิตส่วนนี้จะรวบรวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของจิตไม่ต้องการหรือปรารถนาที่จะจดจำ จึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ให้ลงอยู่ในจิตส่วนนี้ อย่าง ไรก็ตามหากความต้องการหรือความรู้สึกต่างๆ ที่บุคคลเก็บกดไว้ยังมีพลังอยู่ ถ้าเกิดมีสิ่งใดมากระตุ้นขึ้น พลังนี้ก็จะแสดงอิทธิพลทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่รู้สึกตัว นอก จากนี้นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังเชื่ออีกว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจาก พลังที่อยู่ในจิตไร้สำนึก ความคิดเช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากในตอนแรก ๆ แต่ในเวลาต่อมาหลักการทางจิตวิเคราะห์ได้รับการยอมรับโดยการนำไปใช้ในวงการ ของจิตแพทย์หรือการบำบัดรักษาอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1865 – 1539)
6. กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
การรู้การคิด (Cognition) หมายถึง กระบวนการทางจิตซึ่งทำการเปลี่ยนข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสไปในรูปแบบต่างๆ กระบวนการนี้ทำหน้าที่ตั้งแต่ลดจำนวนข้อมูล (Reduced) เปลี่ยนรหัส(Code) และส่งไปเก็บไว้ (Store) ในหน่วยความจำและรื้อฟื้นเรียกคืน (Retrieve) มาได้เมื่อต้องการ การรับรู้ จินตนาการ การแก้ปัญหา การจำได้ และการคิด คำเหล่านี้ล้วนอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆ เมื่อเกิดการรู้-การคิด นักจิตวิทยากลุ่มนี้คัดค้านว่ามนุษย์เรามิได้เป็นเพียงแต่หน่วยรับสิ่งเร้า ที่อยู่เฉยๆ เท่านั้น แต่จิตจะมีกระบวนการสร้างข้อสนเทศขึ้นใหม่หรือชนิดใหม่ การ ตอบสนองของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานของจิตในการประมวลผลข้อมูล และเมื่อมีข้อมูลใหม่หรือประสบการณ์ใหม่การตอบสนองก็เปลี่ยนไปได้
7. กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987)
จิตวิทยา กลุ่มมนุษย์นิยมพัฒนาขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1940 โดยเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ได้ดีขึ้นด้วยการศึกษาถึง การรับรู้ของบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง ความคิดส่วนตัวที่เขามีต่อบุคคลอื่นและโลกที่เขาอาศัยอยู่ และยังมีความเชื่อว่า มนุษย์ เรามีคุณลักษณะที่สำคัญที่ทำให้เราแตกต่างไปจากสัตว์คือมนุษย์เรามีความมุ่ง มั่นอยากที่จะเป็นอิสระ เราสามารถกำหนดตัวเองได้และเรามีพลังจูงใจ (Motivational Force) ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ระดับที่สมบูรณ์ขึ้น ที่แสดงถึงความเป็นจริงแห่งตน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ให้เต็มที่ (Self Actualization)
 จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์  (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้
“…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…”
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า “No one too old to learn” หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์     (2) ความเข้าใจ     (3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า “ความเข้าใจ”
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
อ้างอิงจาก : http://tupadu.multiply.com/journal/item/1

จิตวิทยาการแนะแนว
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)
บริการแนะแนว
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ
ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม
ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)  ปกติ ,กลุ่มเสี่ยง
3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ
4. การป้องกันและแก้ปัญหา  ( ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา )
5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา


จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา    เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  


 
จิตวิทยา (อังกฤษpsychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม