วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

กระบวนการให้คำปรึกษา
 1. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (Objective)
     การให้คำปรึกษาจำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา เพื่อให้ทราบว่าเราให้คำ
ปรึกษาเพื่ออะไร  ต้องการให้ผู้ขอคำปรึกษาบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอะไร เช่น เพื่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่ไม่ดีให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม หรือช่วยให้
ผู้ขอคำปรึกษาสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำแนวทางของการตัดสินใจไปปฏิบัติได้
อย่างเหมาะสม อาทิ การพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ การปรับปรุงงานการเข้าใจตนเองและผู้อื่น ๆ เป็นต้น
 2. การรวบรวมข้อมูล (Data Collecting)
     ในขั้นตอนที่สองหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์ในการให้คำปรึกษาแล้ว  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องรวบ
รวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอคำปรึกษาเพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น  ทราบพื้นฐานของครอบครัว  ความรู้
ความสามารถ  ประวัติการทำงาน  ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีการทางจิตวิทยา  เช่น  การสังเกต
การศึกษา  ประวัติ การทดสอบ หรือไม่ทดสอบ  การสัมภาษณ์  เป็นต้น

 3. การวิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุ (Cause Analysis)
     ภายหลังจากรวบรวมข้อมูลแล้ว  ผู้ให้คำปรึกษาจะนำข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยปัญหา
การค้นหาสาเหตุของปัญหา  การคาดคะเนพฤติกรรมเพื่อให้ทราบที่มาของปัญหาของผู้ขอคำปรึกษา
เช่น  ผู้ขอคำปรึกษามีความกังวลใจ  ความขัดแย้งในใจ  ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติงานใดก่อนหลัง  ทำให้
ไม่สามารถทำงานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย จากการวิเคราะห์ปัญหา โดยข้อมูลของผู้ขอคำปรึกษา
ทำให้ทราบว่า  ผู้ขอคำปรึกษาขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ  ทำให้เกิดความลังเลใจ ตัดสินใจ
ไม่ถูก เป็นต้น
 4. การให้คำปรึกษา (Counseling)
     ขั้นตอนนี้เป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้ขอคำปรึกษา เพื่อร่วมมือกันค้นหาวิธีแก้ปัญหา
หรือเลือกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม โดยผู้ให้คำปรึกษาจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ขอคำปรึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ผู้ให้คำปรึกษาต้องให้เกียรติผู้ขอคำปรึกษา แสดงความเป็นมิตร เพื่อให้ผู้
ขอคำปรึกษามีความรู้สึกอบอุ่นใจ ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความลับได้  เมื่อเกิดความคุ้นเคยและไว้วาง
ใจกันแล้ว การให้คำปรึกษาก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของผู้ขอคำปรึกษา ซึ่งผู้ให้คำปรึกษา
จะเลือกใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบใดมาใช้ เช่น การให้คำปรึกษาแบบนำทาง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีปัญหา
เกี่ยวกับการตัดสินใจ ไม่เข้าใจตนเอง  สำหรับการให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง เหมาะกับผู้ขอคำปรึกษา
ที่มีปัญหาทางอารมณ์  หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันซึ่งเรียกว่า  การให้คำปรึกษาแบบมีส่วนร่วม  เป็นต้น แต่ถ้ากรณีของปัญหาหรือสิ่งที่ผู้ขอคำปรึกษาต้องการให้ช่วยเหลือเกินขอบข่ายความสามารถของผู้ให้
คำปรึกษา  ก็อธิบายให้ผู้ขอคำปรึกษาทราบและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป  เช่น  นัก
กฎหมาย  แพทย์  หรือจิตแพทย์  ดังนั้น การให้คำปรึกษาจึงเป็นการรับฟังอย่างเห็นใจ เข้าใจ วินิจฉัย
ปัญหาให้ฟัง เสนอแนะพร้อมชี้แจงเหตุผล ตัดสินใจเช่นนั้น  เกิดผลอย่างไร ส่วนการตัดสินใจเป็นของ
ผู้ขอคำปรึกษาที่ต้องตัดสินใจเอง
 5. การประเมินผล (Evaluation)
     เมื่อการให้คำปรึกษาสิ้นสุดลง ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบผลของการให้คำปรึกษารวมทั้ง
การให้ความช่วยเหลือว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เพียงใด ถ้าหากมีข้อบกพร่องนี้จะนำ
ไปปรัปปรุงแก้ไขวิธีการให้คำปรึกษาให้ดีขึ้นไปอีก  แต่ถ้าการให้คำปรึกษาบรรลุผลตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ก็สามารถนำเป็นแบบอย่างไปใช้กับผู้ขอคำปรึกษาที่มีปัญหา  หรือกรณีใกล้เคียงกันได้  การ
ประเมินผลอาจประเมินผลการให้คำปรึกษาหรือผู้ให้คำปรึกษาก็ได้ หรืออาจจะประเมินผลทั้งสองกรณี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น