วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

แนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ 
1.กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism)
ผู้นำกลุ่มความคิดนี้คือ วิลเฮล์ม วุนต์ แนวคิดนี้สนใจศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าวของจิตสำนึกของมนุษย์ โดยมีแนวคิดว่าจิตสำนึกของมนุษย์ประกอบด้วย ธาตุทางจิต 3 ชนิดคือ การรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการ โดยในการศึกษาจิตธาตุทั้ง 3 ชนิด จะใช้วิธีพิจารณาภายใน ซึ่งไม่เป็นวิทยาศาสตร์เพราะข้อมูลที่ได้จากการรายงานความรู้สึกของผู้ถูก ศึกษามีความเป็นอัตนัยสูง
2.กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)
แนว คิดของกลุ่มหน้าที่ทางจิตให้ความสำคัญกับวิธีการทีมนุษย์ใช้ในการปรับตัว เข้ากับสิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ให้ความเห็นว่า จิตเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหา เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ใช้ในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักจิตวิทยาในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับพฤติกรรม
3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
จอห์น บี วัตสัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้นำแนวคิดที่สำคัญที่เสนอให้มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกต และมองเห็นได้ ซึ่งจัดว่าเป็นการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้วัตสันได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาสมัยใหม่ แนวคิดของพฤติกรรมนิยมเน้นว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้มากระทบอินทรีย์ ทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง นักคิดในกลุ่มนี้จึงมักศึกษาพฤติกรรมต่างๆด้วยวิธีการทดลองและใช้การสังเกตอย่างมีระบบจากการทดลอง โดยสรุปว่าการวางเงื่อนไขเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและถ้าเรารู้สาเหตุของพฤติกรรมเราก็จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้
จอห์น บี วัตสัน (1878 – 1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันและผู้ก่อตั้งสำนักพฤติกรรมนิยม (behaviorism)
4. กลุ่มเกสตอลท์ (Gestalt Psychology)
Wertheimer,Maxz ผู้นำกลุ่มเกสตอลท์
กลุ่มเกสตอลท์ เป็นกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาที่ตั้งขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมันเพื่อโต้แย้งกลุ่มทางจิตกลุ่มอื่น โดยมีแนวคิดว่าการศึกษาจิตสำนึกนั้นจะต้องศึกษาจากการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งจะมุ่งความสนใจไปที่หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดระบบการรับรู้ของมนุษย์และจากการศึกษาพบว่ามนุษย์จะรับรู้ส่วนรวมของสิ่งเร้ามากกว่าเอาส่วนย่อย ๆ ของสิ่งเร้านั้นมารวมกัน นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้แล้ว นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้น กำเนิดของการพัฒนาจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ
5.กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ผู้นำแนวคิดของกลุ่มนี้ได้แก่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ โดยเชื่อว่าพฤติกรรม ทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจากพลังที่อยู่ในจิตไร้สำนึก จิตส่วนนี้จะรวบรวมความคิด ความต้องการ และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของจิตไม่ต้องการหรือปรารถนาที่จะจดจำ จึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ให้ลงอยู่ในจิตส่วนนี้ อย่าง ไรก็ตามหากความต้องการหรือความรู้สึกต่างๆ ที่บุคคลเก็บกดไว้ยังมีพลังอยู่ ถ้าเกิดมีสิ่งใดมากระตุ้นขึ้น พลังนี้ก็จะแสดงอิทธิพลทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่รู้สึกตัว นอก จากนี้นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยังเชื่ออีกว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจาก พลังที่อยู่ในจิตไร้สำนึก ความคิดเช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากในตอนแรก ๆ แต่ในเวลาต่อมาหลักการทางจิตวิเคราะห์ได้รับการยอมรับโดยการนำไปใช้ในวงการ ของจิตแพทย์หรือการบำบัดรักษาอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1865 – 1539)
6. กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
การรู้การคิด (Cognition) หมายถึง กระบวนการทางจิตซึ่งทำการเปลี่ยนข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสไปในรูปแบบต่างๆ กระบวนการนี้ทำหน้าที่ตั้งแต่ลดจำนวนข้อมูล (Reduced) เปลี่ยนรหัส(Code) และส่งไปเก็บไว้ (Store) ในหน่วยความจำและรื้อฟื้นเรียกคืน (Retrieve) มาได้เมื่อต้องการ การรับรู้ จินตนาการ การแก้ปัญหา การจำได้ และการคิด คำเหล่านี้ล้วนอธิบายถึงขั้นตอนต่างๆ เมื่อเกิดการรู้-การคิด นักจิตวิทยากลุ่มนี้คัดค้านว่ามนุษย์เรามิได้เป็นเพียงแต่หน่วยรับสิ่งเร้า ที่อยู่เฉยๆ เท่านั้น แต่จิตจะมีกระบวนการสร้างข้อสนเทศขึ้นใหม่หรือชนิดใหม่ การ ตอบสนองของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานของจิตในการประมวลผลข้อมูล และเมื่อมีข้อมูลใหม่หรือประสบการณ์ใหม่การตอบสนองก็เปลี่ยนไปได้
7. กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
ผู้นำสำคัญในกลุ่มมนุษย์นิยม ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Calr R. Rogers, 1902-1987)
จิตวิทยา กลุ่มมนุษย์นิยมพัฒนาขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1940 โดยเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ได้ดีขึ้นด้วยการศึกษาถึง การรับรู้ของบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง ความคิดส่วนตัวที่เขามีต่อบุคคลอื่นและโลกที่เขาอาศัยอยู่ และยังมีความเชื่อว่า มนุษย์ เรามีคุณลักษณะที่สำคัญที่ทำให้เราแตกต่างไปจากสัตว์คือมนุษย์เรามีความมุ่ง มั่นอยากที่จะเป็นอิสระ เราสามารถกำหนดตัวเองได้และเรามีพลังจูงใจ (Motivational Force) ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ระดับที่สมบูรณ์ขึ้น ที่แสดงถึงความเป็นจริงแห่งตน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถที่ตนเองมีอยู่ให้เต็มที่ (Self Actualization)
 จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์  (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์   และฮิลการ์ด    ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้
“…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…”
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า “No one too old to learn” หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์     (2) ความเข้าใจ     (3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า “ความเข้าใจ”
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
อ้างอิงจาก : http://tupadu.multiply.com/journal/item/1

จิตวิทยาการแนะแนว
ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)
บริการแนะแนว
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ
ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม
ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)  ปกติ ,กลุ่มเสี่ยง
3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ
4. การป้องกันและแก้ปัญหา  ( ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา )
5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น