วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

การให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษา   

การให้คำปรึกษาหมายถึง

          การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายของบุคคลสองคน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเชิงจิตวิทยาเฉพาะส่วนบุคคล โดยบุคคลหนึ่งเป็นผู้ให้บริการ  ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางตลอดจนสามารถนำเทคนิคต่างๆในการให้คำปรึกษาไปใช้ เพื่อใช้ความช่วยเหลือแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัญหา ให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆในปัจจุบันได้อย่างฉลาดเหมาะสมและมีทักษะในการแก้ปัญหาอื่นๆในอนาคตได้ด้วยตนเอง  มีทักษะและความสามารถในการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นหากนักเรียนมีปัญหาทุกข์ใจหรือตัดสินใจอะไรบางอย่างไม่ได้ แล้วครูจะต้องให้คำปรึกษา  ครูจะต้องตระหนักเสมอว่าบทบาทของครู คือช่วยให้นักเรียนได้เรียนรุ๋เกี่ยวกับตนเองมากขึ้น เข้าใจสภาพการณ์ และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เรียนรู้ทักษะและวิธีการที่จะทำให้ผ่อนคลายหรือแก้ปัญหาของตนเองได้ดีขึ้น ตัดสิ้นใจอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งย่อมไม่ได้การไปแก้ปัญหาหรือตัดสินใจให้นักเรียนโดยที่ตัวผู้เรียนเองไม่ได้เกิดการพัฒนาในประเด็นที่กล่าวมานั้นเลย

จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษา

ช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยวเมื่อเกิดปัญหา
ช่วยทำให้บุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง
ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ความคิด ใช้สติปัญญาที่มีทั้งหมดนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
ช่วยให้บุคคลเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ มองเห็นลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
ช่วยให้บุคคลเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
ช่วยให้บุคคลรู้จักความอดทน เสียสละ ยอมรับต่อสภาวการณ์ที่แท้จริง
ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาการ และเจริญงอกงามไปถึงขีดสูงสุด

คุณสมบัติของผู้ให้คำปรึกษา 

     1. ด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge)  เนื่องจากการให้คำปรึกษา  แนะนำ  มีขอบข่ายกว้างขวาง  ผู้ให้คำปรึกษาจำเป็นต้องรู้หลักการและเทคนิคในการให้คำปรึกษา  ระเบียบ  ข้อบังคับ  ขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของคน ความต้องการของคนพฤติกรรมศาสตร์ แรงจูงใจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ขอคำปรึกษาได้

     2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  Relation)  ตามแนวความคิดของมนุษยสัมพันธ์  เน้นในเรื่องความสำคัญของคน  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร และเห็นว่าการเข้าใจคนจะช่วยให้การบริหารงานสำเร็จไปกว่าครึ่งหนึ่ง  ดังนั้น  ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ เพราะเป็นงานที่ต้องติดต่อกับคน  เช่น ผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชา  รวมทั้งบุคลากรอื่น ๆ ในหน่วยงาน  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขอคำปรึกษาช่วยให้การให้คำปรึกษาเกิดความร่วมมือในการหาหนทางในการแก้ปัญหาด้วยกัน

     3. ด้านจริยธรรม (Ethics)  ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ของบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งในการปฏิบัติงานผู้ให้คำปรึกษาแนะนำจำเป็นต้องรักษาความลับของผู้ขอคำปรึกษา และการให้คำปรึกษาก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการไม่นำเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง  ต้องวางตัวเป็นกลางอยู่บนหลักการและเหตุผล โดยมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ การปฏิบัติอย่างยุติธรรมโดยทั่วหน้ากันไม่ว่าผู้ขอคำปรึกษาจะเป็นใคร  มีพฤติกรรมเช่นไร  ซึ่งจะทำให้ผู้ขอคำปรึกษารู้สึกปลอดภัยและเต็มใจเปิดเผยข้อมูลสำคัญ ๆ แก่ผู้ให้คำปรึกษา

หลักการสำคัญของการให้    คำปรึกษา   1.  ยึดเอาผู้มีปัญหาเป็นหลัก                                       
2.  เน้นที่อารมณ์ความรู้สึกของผู้มีปัญหา                                         
3.  เข้าใจและยอมรับในอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้มีปัญหา
4. ไม่ด่วนสรุป หรือตัดสินผู้มีปัญหา          
5.  เน้นที่ความเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์ 
6.  มีการโต้ตอบเป็นจริงตามเหตุการณ์และสถานการณ์
7.  ผู้มีปัญหาเกิดการเรียนรู้ด้วยเหตุของปัญหา และตัดสินใจเลือกทางแก้ไข ด้วยตนเอง

บทบาทหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา 

     1. ทำหน้าที่ให้บริการ (Service) ในการปฏิบัติงานของผู้ให้คำปรึกษา จะให้คำปรึกษาแก่
ผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่องกฎระเบียบ  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  การจัดหาข้อมูล  การวางแผน
อัตรากำลัง  ปัญหาค่าจ้าง  ข้อร้องทุกข์  ความขัดแย้ง ปัญหาส่วนตัว ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
เป็นต้น

     2. ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องแสดงบทบาทเกี่ยวกับการไกล่
เกลี่ยให้เกิดความสัมพันธ์ของบุคคลหรือกลุ่ม  การให้คำปรึกษาเพื่อลดปัญหา ข้อร้องทุกข์ อุทธรณ์และ
ลดความขัดแย้งในหน่วยงาน  เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ปรองดองกัน ระงับข้อขุ่นข้องหมองใจ ความ
ไม่เข้าใจกัน

     3. ทำหน้าที่ผู้ประสานงาน (Coordinator) ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทำงานเกี่ยวข้องกับคน
จำนวนมาก  ทั้งผู้บริหาร  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และบุคคลอื่น ๆ  การดำเนินงานในองค์การย่อมต้องการ
ผู้ประสานงานที่จะช่วยให้บุคคลต่าง ๆ  ในองค์การสามารถทำงานร่วมกันได้  ผู้ให้คำปรึกษาจะแสดง
บทบาทเป็นผู้ประสานงาน  ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทุกระดับ  บางครั้งอาจต้อง
ประสานงานกับบุคคลภายนอก  เช่น  จิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย หรือผู้เชี่ยวชาญสาขา
อื่น ๆ เป็นต้น

     คุณสมบัติและบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาควรจะมี
และควรจะเป็น ขณะเดียวกันผู้ให้คำปรึกษาควรจัดตารางเวลาการให้คำปรึกษาตามความสามารถของ
ตนเพื่อให้การปฏิบัติงานแตกต่างกัน  บางคนอาจให้คำปรึกษาได้วันละ 7 - 8  ราย  แต่บางคนจะทำได้
เพียง 2 - 3 รายต่อวัน  เนื่องจากต้องมีกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย อัตราการให้คำปรึกษาต่อวันจึงขึ้นอยู่กับผู้ให้
คำปรึกษาแต่ละคน  แต่การให้คำปรึกษา ราย ไม่ควรใช้เวลาเกิน 45 - 50  และเป็นการให้คำปรึกษา
ในสถานที่ ไม่ควรนัดหมายหรือให้คำปรึกษานอกสถานที่ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาควรพิจารณาว่าตนเองมี
ความพร้อมในด้านร่างกาย  และจิตใจ  ที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถและมี
ประสิทธิภาพ บางปัญหาอาจไม่ตรงกับความสามารถของผู้ให้คำปรึกษา ก็ต้องส่งต่อผู้ขอคำปรึกษาไป
ยังผู้ช่วยชาญต่อไป โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของตนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้ขอคำปรึกษาจะได้รับด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น