วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

ประเภทของการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น ประเภทดังนี้

     1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)

  การให้คำปรึกษาประเภทนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ การให้คำ
ปรึกษาจะเป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน  กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน  การให้
คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง  เข้าใจปัญหา และ
สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง หรือเพื่อให้สมาชิกในองค์การ  เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานให้สูงขึ้น  ทำให้คนในองค์การได้ตระหนักถึงความรู้สึกเกี่ยวกับปฏิกิริยาและการแสดงออกของ
อารมณ์ของตนและผู้อื่น  เข้าใจความสำคัญของทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ พฤติกรรมต่าง ๆ
ของบุคคล เข้าใจความสำคัญของการเสริมแรงและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนสามารถกำหนดเป้า
หมายและการประพฤติปฏิบัติของตนเองได้

     2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)

     การให้คำปรึกษาประเภทนี้  หรืออาจเรียกว่าการให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ  เป็นกระบวนการที่
บุคคลที่มีความต้องการหรือปัญหาที่คล้ายกันหรือตรงกัน ต้องการปรับปรุงตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือต้องการจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน  มารวมกันเป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน
โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มประมาณ  7 - 9  คน  ต่อผู้ให้คำปรึกษา 1 คน
สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้พิจารณากำหนดปัญหา แสดงออกเกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน
เป็นการได้ระบายความรู้สึกและความคิดเห็นของแต่ละคน เป็นการได้ระบายความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจ
ได้สำรวจตนเอง ได้ฝึกการยอมรับตนเอง กล้าที่จะเผชิญปัญหาและได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหา หรือ
ปรับปรุงตนเองกับทั้งที่ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และได้ตระหนักว่าผู้อื่นก็มีความขัดแย้งหรือ
ความคิดเห็นเช่นเดียวกับตนไม่ใช่เขาคนเดียวที่มีปัญหาและอย่างน้อยยังมีอีกคนหนึ่งคือ ผู้ให้คำปรึกษา
ที่ยอมรับและเข้าใจเขา  ผู้ให้คำปรึกษาจะให้ข้อพิจารณา  ให้คำแนะนำว่าเพื่อให้กลุ่มเข้าใจปัญหาที่เป็น
อยู่ ช่วยกันคิดหรือปรึกษาหารือในทางเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา แต่กลุ่มต้องตัดสินในเลือกทางเลือกใน
การแก้ปัญหาเอง  วิธีการให้คำปรึกษาแบบนี้สมาชิกของกลุ่มจะร่วมกันคิด  แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เกิด
ความคิดเห็นต่างกัน และการกระทำต่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานโดยร่วมมือกัน การทำงานก็มีประสิทธิ
ภาพ  และอีกประการหนึ่งการใช้วิธีนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเปิดโอกาสให้
สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนได้เสนอแนะความคิดเห็นต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจว่าตนเอง
สามารถให้ข้อคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น